จุดเริ่มต้นของผ้าไหมทังโกะ

จุดเริ่มต้นของผ้าไหมทังโกะ ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือของจังหงัดเกียวโต ท่านจะได้ยินเสียง "gacha gacha" คือเสียงกุกกักของเครื่องทอผ้าจากที่ไหนสักแห่ง ทังโกะ มีสภาพภูมิอากาศเปียกชื้นโดยเฉพาะช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูหนาวซึ่งมีจำนวนวันที่ฝนและหิมะตกบ่อยครั้ง จึงมีคำกล่าวว่า (ลืมร่มเหมือนกับลืมเบนโตะอาหารกลางวัน) ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตผ้าไหม เนื่องจากในการแบ่งเส้นไหมไม่ชอบอากาศแห้ง ด้วยเหตุนี้ ในสมัยนาราจักรพรรดิโชมุ Emperor Shomu จึงได้ส่งมอบผ้าไหม (อะชิกินุ Ashiginu) เป็นเครื่องบรรณาการ ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ได้มีบันทึกการส่งจดหมายโต้ตอบ (เทคินอนไร Teikinourai) และบันทึกเกี่ยวกับหมู่บ้านทอผ้าไหมในเขตทังโกะ (ทังโกะเซโก Tango seigō)

กำเนิด (ผ้าไหมทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk)

กำเนิด (ผ้าไหมทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) พื้นที่ในเขตทังโกะ ผู้คนดำเนินชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรมและสิ่งทอ แต่ในยุคเอโดะ เกียวโตนิชิจิน Kyoto Nishijin มีการพัฒนาผ้าไหม (เมะชิจิริเมน Meshichirimen) ทำให้ผ้าไหม (ทังโกะเซโค Tangoseiko) ไม่สามารถจำหน่ายได้ ผู้คนต้องเผชิญกับวิกฤตผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวไม่ได้อย่างต่อเนื่อง "จิริเมน Chirimen คือผ้าไหมที่มีความมันวาวสวยงามและเรียบนูนไม่เสมอกัน เรียกว่า (ชิโบะ Shibo) ซึ่งในตอนนั้นเป็นเทคนิคพิเศษที่ไม่เปิดเผยกับคนภายนอก" ในขณะนั้นที่ภูเขามิเนะ Mineyama (เขตเคียวทังโกะเมืองมิเนะยามะ) คินุยาซะเฮจิ Kinuyasaheiji ได้อธิษฐานกับพระโพธิสัตว์โชกันเซอนโบซะสึ shokanzeonbosatsu ที่วัดเซนโจจิ Zenjoji ด้วยการถือศีลอดอาหาร เพื่อช่วยเหลือผู้คน, และได้ศึกษาค้นคว้าที่เกียวโตนิชิจิน Kyoto Nishijin จนในปีเคียวโฮ Kyoho 5 (ปี 1720) ได้ทำความเข้าใจและศึกษาการทำจิริเมนด้วยตนเองจนสำเร็จ

โมเมนยะโระคุเอมง Momenyarokuemon แห่งคายะ Kaya (เมืองโยซาโนะ Yosano Town เขตอุชิโระโนะ Ushirono) ได้แนะนำให้เทะโกะเมะยะโคเอมง Tegomeyakoemon เมืองนิชิจิน Nishijin ย่านคายะ Kaya ใช้เทคนิคของจิริเมน กับยามะโมะโตะยาซะเฮเอะ Yamamotoyasahee แห่งมิโกะจิ Migochi (เมืองโยซาโนะ Yosano Town เขตมิโกะจิ Migochi) ได้ส่งออก จนกระทั่งปีเคียวโฮ Kyoho 7 (ปี 1722) ได้นำเทคนิคนี้กลับไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 4 คนที่ได้ศึกษาเทคนิคของจิริเมน จึงนำเอาเทคนิคนี้ไปเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้คนในพื้นที่นั้น จึงทำให้จิริเมนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของคนในเขตพื้นที่ทังโกะในชั่วพริบตา และเนื่องจากความพยายามของชาวบ้านโดยใช้ประโยชน์จากเทคนิคการทอแบบใหม่จึงทำให้สามารถเอาชนะความยากลำบากนั้นได้

(ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen) เป็นการพัฒนาท้องถิ่นและวัฒนธรรม

(ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen) เป็นการพัฒนาท้องถิ่นและวัฒนธรรม (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ได้เป็นตัวแทนของจิริเมนในฐานะที่มี (ชิโบะ) การพัฒนาสีสันและเนื้อผ้าที่เนียนนุ่ม ใช้ทำกิโมโนที่มีความงดงามเช่น ยูเซน (Yuzen dye) เป็นต้นซึ่งได้รับการสนับสนุนจากวัฒนธรรมการสวมเสื้อญี่ปุ่นของประเทศญี่ปุ่น มีผู้ทำการพัฒนารูปแบบต่างของเนื้อผ้าและสีสันเช่น (มงจิริเมน Monchirimen), การกำจัดสิ่งสกปรกจากการผลิต (โดยลดขั้นตอนการต้มในน้ำร้อน, การเคลือบเส้นไหมด้วยโปรตีนไหม (เซริซีน Sericin)) พยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพเช่นการจัดตั้งระบบการตรวจสอบกันอย่างต่อเนื่องเป็นต้น ในสมัยโชวะ 30-40 เป็นยุคทองของการทอผ้าซึ่งผู้ที่ทำผลกำไรได้เป็นจำนวนมากซึ่งเรียกคนเหล่านั้นว่า (กะจะมัง Gachaman) ทังโกะพัฒนาเป็นพื้นที่การผลิตที่สำคัญของผ้าไหมและยังมีส่วนอย่างมากในการพัฒนาพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดทั้งหมดรวมถึงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงไหมและอุตสาหกรรมทำผ้าไหมในบริเวณโดยรอบ

(ทันโกะจิริเมน Tango Chirimen) เป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ร้านค้าผู้คนที่คึกคัก แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางศิลปะแบบดั้งเดิมที่ยังคงมีชีวิตชีวาอยู่เป็นเวลายาวนาน

มิเนะยามะ Mineyama, โอมิยะ Omiya, อามิโนะ Amino, ยากาเอะ Yakae (เมืองเคียวทังโกะ Kyotango-shi) เป็นสถานที่ผลิตหลักของ (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ซึ่งการสร้างอาคารโรงงานผลิตสิ่งทอหลังคารูปสามเหลี่ยมเหมือนฟันเลื่อยซึ่งยังหาชมได้ในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโรงงานอยู่ด้วยกัน ที่นี้มีทั้งบ้านที่อยู่อาศัยสลับกับโรงทอผ้าตามแบบฉบับของพื้นที่

ในยุคเอโดะ มีหินแกะสลักแมวโคมะอยู่ประมาณ 13,000 ก้อน (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen) ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์พิเศษที่ทำรายได้จำนวนมาก ศาลเจ้าโคโตฮิระ Kotohira jinya สร้างโดยขุนนางเคียวโกคุเคะ Kyogokuke มีอาณาบริเวณที่กว้างขวางและเต็มไปด้วยกลุ่มของศาลเจ้ามากมายแสดงให้เห็นถึงอดีตที่เคยเจริญรุ่งเรืองของจิริเมน ยังคงมีภาพวาดเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของยุคเมจิบนแผ่นป้ายขอพรที่เรียกว่าเอมะ Ema รวมถึงขบวนรถแห่แบบโบราณที่งดงามซึ่งใช้ในงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น ภายในบริเวณศาลเจ้าโคโนะชิมะ Koyoshima ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าแห่งการเพาะเลี้ยงไหม จะมีสมาคมผู้ค้าไหมและผู้เลี้ยงไหมจัดหาไหมดิบที่นำมาเป็นวัตถุดิบของจิริเมน, มีการบริจาคเพื่ออุทิศให้กับแมวโคมะที่ช่วยกำจัดหนูซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของไหม, การขอพรเพื่อขอบคุณที่ทำให้ผลผลิตไหมมีความสวยงาม ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ต้องการสืบทอดให้กับผู้คนรุ่นสู่รุ่น

ในยุคเอโดะเมืองมิยาซึ (Miyazu-shi) เป็นเมืองปราสาทของตระกูลมิยาซึ เป็นสถานที่ผลิต (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) จนถึงสิ้นยุคบาคุมาสึ Bakumatsu จิริเมนเป็นฐานการส่งสินค้าไปจำหน่ายต่อยังเกียวโต เป็นเมืองแห่งการค้าและท่าเรือเต็มไปด้วยพ่อค้าและลูกเรือจำนวนมากที่เดินทางเข้ามาอย่างคึกคักราวกับถนนที่เรียงรายไปด้วยดอกไม้ (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ได้เป็นที่รู้จักกันดีในขณะนั้น โดย พ่อค้าสิ่งทอทั่วประเทศที่มาเยือนจิริเมน และผู้คนโดยอาศัยโดยรอบเป็นต้น ใกล้ๆกันนั้นมีสะพานอามาโนะฮาชิดาเตะ Amanohashidate และวัดจิออนจิ Chionji ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ และเพลงพื้นบ้าน (มิยาซึบุชิ Miyatsubushi) ที่ยังคงร้องกันเรื่อยมา อีกทั้งผนังสีขาวที่งดงามหรูหรา ร้านค้าที่มีห้องสื่อทาทามิและสวนนั่งพักผ่อนของผู้ค้าส่งไหมเป็นต้น Senbon-goushi หรือประตูบานเลื่อนที่ใช้ไม้ซี่ทำเพื่อบังตาแบบญี่ปุ่นที่เพื่อใช้ชมสวนดอกไม้ซึ่งยังคงมีเหลืออยู่ในบางบ้าน แสดงให้เห็นถึงร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลานั้น

คายะ Kaya, โนดะกาว่า Nodagawa, วาตะคิ Wataki, (หมู่บ้านโยซาโนะ Yosano Town) ในสมัยก่อนยุคโชวะจะเห็นโรงทอผ้าและร้านค้าเครื่องจักรอยู่ตลอดแนวถนน (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ถือเป็นฐานการผลิตหลัก ยุคโมจิถึงโชวะ คายะ Kaya, โนดะกาว่า Nodagawa รวมเป็นเกียวโต (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) เป็นฐานการในการขนส่งสินค้าที่มีความเจริญรุ่งเรือง เส้นโค้งของถนนที่อ่อนโอนราวกับภาพวาด ซึ่งในยุคเมจิจะได้ยินเสียงของโรงทอผ้า (โรงงานนิชิยามะ) ที่จิริเมนจะทำให้ท่านหวนรำลึกเรื่องราวในอดีตของแต่ละยุคสมัย เมจิ, ไทโช, เมจิ ผ่านทางสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนที่สร้างด้วยไม้ กำแพงดินที่เรียงรายกันอยู่เป็นต้น (ทางหลวงจิริเมน) เปรียบราวกับเป็นพิพิธภัณฑ์ทางสถาปัตยกรรมที่ไม่มีหลังคาที่ได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ผลิตและขนส่งออกสินค้าโดยนำเงินทุนที่ได้รับมาสร้างถนน, โรงไฟฟ้า, ทางรถไฟเป็นต้น (ทางรถไฟคายะ) ได้เปิดให้บริการในปีไทโช Taisho ที่ 15 (ปี 1926) โดยเงินทุนในการก่อสร้างมาจากผู้คนในพื้นที่ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของจิริเมนในขณะนั้นคือ ขบวนรถแห่แบบโบราณที่งดงามใช้ใน (เทศกาลมิโกะจิฮิคิยามะ Migochihi-kiyama Event) จำนวน 12 คัน อุชิโระโนะ Ushirono, ซันโจ Sanjo, คายะ kaya เป็นต้น ซึ่งใช้ในการเทศกาลที่เป็นมรกสืบทอดต่อกันมาของ (ทังโกะจิริเมน Tango chirimen )

เทคโนโลยีและวัฒนธรรมของ (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ที่สืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน

เทคโนโลยีและวัฒนธรรมของ (ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) ที่สืบทอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันยังคงเป็นแหล่งผลิตผ้ากิโมโน (ผ้าโอโมเทะ ใช้สำหรับเสื้อผ้าญี่ปุ่น) รายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นประมาณ 60% และเป็นต้นกำเนิดผ้าไหมดิบที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศมากกว่า 30% (ทังโกะจิริเมน) ใช้เทคนิคการทอผ้าที่ยอดเยี่ยมจนถึงยุคปัจจุบัน ไม่ได้มีเฉพาะเสื้อผ้าญี่ปุ่นเท่านั้นแต่ยังมีเสื้อผ้าสไตล์ตะวันตก นอกจากนี้ยังใช้ทำของใช้กระจุกกระจิกเช่นผ้าพันคอและสินค้าตกแต่งภายในบ้านเป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีพัฒนากระบวนการไฮเปอร์ซิงค์ hyper silk processing technology ซึ่งทำให้ไหมทนต่อแรงเสียดทานและการหดตัวแม้ว่าจะเปียกน้ำ, การพัฒนาโพลีเอสเตอร์จิริเมน Polyester crepe เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาในหลากหลายสาขา(ทังโกะจิริเมน Tango Chirimen Silk) มีประวัติและวัฒนธรรมการทอผ้าสืบทอดยาวนานกว่า 300 ปี ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องของผู้คนที่มุ่งมั่นสู่อนาคตข้างหน้าไปพร้อมกับเสียงการทอผ้าที่ยังสะท้อนดังอยู่อย่างต่อเนื่อง